ไม่มีเทคโนโลยีใด แทนที่ "ครู" ได้ พระราชดำรัสสุดซาบซึ้ง กรมสมเด็จพระเทพฯ ให้ศรัทธาใน​วิชาชีพครู

LIEKR:

"กรมสมเด็จพระเทพฯ" เชิดชูพระคุณครู เผยพระราชดำรัส ไม่มีเทคโนโลยีใดๆ สามารถมาแทนที่ครูได้!

    นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ยังคงตราตรึงในใจพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพครู สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 2562 เพื่อเชิดชูเกียรติครูดีเด่นในอาเซียนและติมอร์-เลสเต รวม 11 ประเทศ

    และเพื่อเทิดพระเกียรติเจ้าฟ้านักการศึกษา ผู้ทรงพระปรีชาและทรงมีคุณูปการต่อการศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

Sponsored Ad

 


    สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงชื่นชมคุณครูทั้ง 11 คน จากนั้นได้มีพระราชดำรัสว่า "...ปี 2562 นี้เป็นปีที่ประเทศไทยได้เป็นประธานอาเซียน ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าความเป็นหุ้นส่วนที่ก้าวหน้าเพื่อความยั่งยืนในประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศติมอร์-เลสเต จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้ทุกประเทศก้าวไปข้างหน้าเพื่อการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนด้วยกัน ขอให้พวกเราทำงานไปด้วยกันเพื่อส่งเสริมครูให้เป็นแรงกระตุ้นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน"

 

Sponsored Ad

 

ภาพจาก กระทรวงศึกษาธิการ

    ครูคือปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ครูคือมนุษย์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กนักเรียนที่จะพัฒนาคุณลักษณะของตนเองและสร้างค่านิยมต่างๆ ให้เกิดขึ้น ไม่มีเทคโนโลยีใดๆ สามารถมาแทนที่ครูได้ด้วยเหตุผลดังกล่าว นั่นคือว่าทำไมครูที่ดีจึงสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิษย์ได้ ด้วยการพัฒนาพวกเขาให้เป็นพลเมืองที่ดีและมีความสามารถทั้งในระดับชาติและระดับเป็นพลเมืองของโลกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งครูผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี 11 ประเทศในอาเซียนและติมอร์-เลสเต ปี 2562 มีประวัติที่น่าสนใจดังนี้

    1. บรูไน ดารุสซาลาม นางฮาจา นูร์เลีย ฮาจี อัสปาร์ ครูใหญ่โรงเรียน เซลา เรนดา ลัมบัก คานัน จาลัน ผู้บริหารโรงเรียน เป็นต้นแบบโรงเรียนแบบเรียนรวม (Model Inclusive School) ศูนย์ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กปัญญาเลิศ

    2. กัมพูชา นายลอย วิรัก ครูสอนฟิสิกส์ โรงเรียนมัธยมฮุนเซน โลเลียพา เอีย จังหวัดกัมปงชนัง เน้นให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรงจากการทดลอง สร้างบทเรียนที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันด้วยสื่อการเรียนรู้ใกล้ตัว ด้วยความมุ่งมั่นว่าการศึกษาที่ดีจะนำไปสู่การให้โอกาสแก่เด็กโดยเฉพาะเด็ก ย า กจ น

 

Sponsored Ad

 

    3. ฟิลิปปินส์ นายซาดัด บี มินันดัง นักมานุษยวิทยาผู้เปลี่ยนอาชีพตนเองมาเป็นครู โรงเรียนประถมศึกษาอัมมิร๊อล เมืองโคตาบาโต จังหวัดมินดาเนา มีส่วนช่วยพัฒนาโรงเรียนและชุมชน ผู้ริเริ่ม “รถลากเสริมความรู้” รถลากเคลื่อนที่บรรทุกหนังสือเรียนและสื่อการเรียนรู้ไปยังหมู่บ้านเพื่อให้เด็กที่ขาดโอกาสได้รู้หนังสือ

    4. ติมอร์-เลสเต นางลูร์เดส รันเกล กอนคัลเวส ครูประถม โรงเรียนมาทาทา ฟิเลีย เมืองเอเมรา ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการศึกษาโดยร่วมกับครูใหญ่ก่อตั้งโรงเรียนมาทาทา โดยใช้ที่ดินของครอบครัวเพื่อจัดการศึกษาให้กับเด็กในพื้นที่ภูเขาสูง มากว่า 19 ปี

 

Sponsored Ad

 

    5. เวียดนาม นายเลอ ทัน เลียม ครูสอนวิชาฟิสิกส์และเทคโนโลยี โรงเรียนฮิม ลัม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสำหรับเด็กชนเผ่ากลุ่มน้อย อำเภอเกาทั่น จังหวัดเฮาเกียง พัฒนานักเรียนโดยฝึกกระบวนการคิดจากชีวิตจริงและช่วยเหลือชุมชนซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวเขมร

    6. สิงคโปร์ นางแอนเจลีน ชาน ซิว เหวิน ครูการศึกษาพิเศษ ผู้มุ่งมั่นไม่ปล่อยให้เด็กพิเศษคนใดตกหล่นหรือออกกลางคัน ผู้ส่งเสริมการเรียนรู้แก่เด็กพิเศษ สอนอ่านและพูดอย่างอดทนจนกว่าจะสามารถพัฒนาความก้าวหน้าได้ตามลำดับ

 

Sponsored Ad

 

    7. ไทย นายสุเทพ เท่งประกิจ ครูประถมศึกษา โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ครูของชุมชนผู้สร้างโอกาสให้แก่เด็กและคนในชุมชนได้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ผู้ผูกสัมพันธ์คนไทยและมุสลิมเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยสันติภาพ 

    8. อินโดนีเซีย นายรูดี้ ฮาร์ยาดี้ ครูผู้จัดการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โรงเรียนมัธยมแบบผสมอาชีวศึกษาที่ 1 จิมาฮิ จังหวัดชวาตะวันตก เน้นการสร้างนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตัล ด้วยเทคนิคการสอนที่ใส่ใจความสนใจของเด็ก 

    9. สปป ลาว นายไพสะนิด ปันยาสวัด ครูและหัวหน้าแผนกวิชาภาษาและวรรณกรรมลาว โรงเรียนมัธยมสันติภาพ หลวงพระบาง ผู้ส่งเสริมการสอนเพื่อยกระดับความตระหนักทางวัฒนธรรมลาวและภูมิปัญญาท้องถิ่นหลวงพระบางเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้สืบทอดทางวัฒนธรรม

Sponsored Ad

    10. มาเลเซีย นาง เค เอ ราซียาห์ ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษ โรงเรียนมัธยมปันจี เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ผู้ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้วยความรักและความเอาใจใส่ ฝึกฝนทักษะชีวิตเพื่อสามารถอยู่ได้ในสังคม 

    11. เมียนมา นายหม่อง จ๋าย ครูสอนภาษาอังกฤษและเกษตร โรงเรียนมัธยมเจ๊าหมี่ โรงเรียนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ครูนักสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกศิษย์ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ให้เห็นความสำคัญของการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ

บทความแนะนำ More +