"ยูน ปัณพัท" จากนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สู่ "ดีไซเนอร์แบรนด์ดัง" GUCCI

LIEKR:

ความสำเร็จไม่มีใครได้มาโดยง่ายก่อนที่จะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ด้วยความอุตสาหะ อดทน และความมุ่งมั่น

        จากนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ สู่ ดีไซเนอร์แบรนด์ดัง และนักวาดภาพประกอบฝีมือฉมัง ปัณพัท เตชเมธากุล หรือ ยูน ได้ร่วมรังสรรค์ผลงานในแคมเปญมากมายและมีผลงานเป็นที่ต้องใจ Gucci แบรนด์แฟชั่นระดับโลก 

        การเดินทางของคนรักศิลปะก่อนที่จะประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ด้วยความอุตสาหะ อดทน และความมุ่งมั่น

 

Sponsored Ad

 

        “จบมาก็ทำงานประจำด้วยความคิดที่ว่าอยากรู้ว่าในองค์กรเขาทำงานกันอย่างไร เพราะฝันว่าอยากจะมีร้านเป็นของตัวเอง แต่ก็ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง โดยส่วนตัวที่บ้านก็ทำเกี่ยวกับเสื้อผ้ามาตลอด เป็นแบบทำมาแล้วขาย ไม่มีเรื่องการตลาด เรื่องเทรนด์มาเกี่ยวข้อง เราเรียนก็ได้ความรู้ตรงนั้นมา แสดงว่าภาพรวมองค์กรมันใหญ่กว่าที่เราคิด” คุณยูน เท้าความให้ฟัง

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อเรียนจบจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ จุฬาฯ ก็ได้มีโอกาสฝึกงานและ เข้าทำงานกับแบรนด์ไทยชื่อดังอย่าง Kloset โดยเริ่มจากตำแหน่งผู้ช่วยฯ แล้วมาเป็นดีไซเนอร์จนขึ้นมาเป็น ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ 

        ตลอดเวลากว่า 7 ปี คุณยูนเล่าว่า “เราต้องฝ่าฟัน ทุกอย่างมันต้องใช้เวลาพิสูจน์ตัวเอง เพราะการทำงานในสายของเรามีความท้อแน่นอน แต่เราต้องพยายาม”

 

Sponsored Ad

 

        ในช่วงเวลานั้นเธอต้องเดินทางจากพุทธมณฑลเข้ามาทำงานแถวเอกมัย เงินเดือนหมดไปกับค่าเดินทาง แต่คิดเสมอว่าสิ่งที่ทำคือประสบการณ์ “มีช่วงเวลาที่แบรนด์ Kloset เริ่มนิ่งและต้องการผู้นำเขาจะจ้างคนเพิ่ม เราเลยบอก ‘เราขอลอง’ ถ้าเราทำได้เราจะขอเงินเพิ่มเท่านี้เพื่อให้ชีวิตฉันต้องอยู่รอดด้วย เราชอบทำงานที่เรารัก แต่งานที่เรารักจะต้องตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเราด้วย ดังนั้นเลยขึ้นไปคุยและตั้งใจทำงานเต็มที่มากๆ”

 

Sponsored Ad

 

        การเรียนรู้จากคณะก็มีส่วนช่วยที่ทำให้ผ่านช่วงเวลาเหล่านี้มาได้ เพราะมีหลักคิดช่วยการสร้างผลงาน “ที่คณะสอนว่า ถึงเราจะทำงานศิลปะ แต่เราก็ต้องทำงานเป็นระบบระเบียบ 

        เราต้องอธิบายให้ได้ว่ามันคืออะไร ต้องฝึกคิดนำเสนอตลอดว่า สิ่งที่เราทำขึ้นมามีเหตุผลมีประเด็นอะไร อาจารย์ส่งเสริมสไตล์งานที่เป็นแนวทางของลูกศิษย์ ทุกคนสามารถเป็นในสิ่งที่ตัวเองเป็นได้อย่างเต็มที่”

 

Sponsored Ad

 

        ระหว่างที่ทำงานหลายอย่างควบคู่กัน ก็เริ่มตั้งคำถามว่าตัวเองชอบทำมากที่สุด จนพบว่าชอบการวาดรูป จึงเริ่มหันกลับมาวาดรูปให้ตัวเองอย่างจริงจัง เธอกล่าวว่า “งานของยูนจะเล่าเป็นเหมือนสมุดบันทึกสัตว์จะสื่อถึงอารมณ์ของตัวเอง ชอบเล่นพวกลวดลาย ดอกไม้จะเปรียบเป็นร่างกายของเรา ยูนชอบใช้ปากกามาร์คเกอร์โคปิคเพราะชอบออกไปทำงานตามที่ต่างๆ ไม่ชอบอยู่กับที่ ก็เลยชอบของที่ขนย้ายได้ง่าย”

 

Sponsored Ad

 

        การประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่รอโชคชะตามาเคาะที่ประตู แต่ต้องไขว่คว้าเองด้วย 

        คุณยูน ชื่นชอบงานของ อเลสซานโดร มิเคเล ครีเอทีฟไดเรคเตอร์คนใหม่ของ Gucci จึงเริ่มวาดภาพและใส่ แฮ็ทแท็คหาเขา เพราะอยากให้กำลังใจเขา จนในที่สุด อเลสซานโดร มิเคเล มาเจองานของคุณยูน ใน Instagrams ก็เลยติดต่อและได้ร่วมงานกันในที่สุด 

Sponsored Ad

        “สมัยก่อนเราคิดว่าต้องรอคนอื่นมาคอยช่วยส่งเสริมก่อนหรือเปล่า ต้องรอคนรู้จัก เครือข่ายที่ดีหรือเปล่า แต่ความจริงคือ ถ้าวันนั้นเราไม่ได้ให้คุณค่ากับตัวเองเลย ใครจะมามองเห็นเรา วิธีการคือ เราก็โพสต์งานลงไป อะไรที่เราทำได้ ก็ประกาศออกไปเลย”

        การทำงานกับคนมากมาย ต้องพบอุปสรรคหลายรูปแบบ วิธีการรับมือของคุณยูนในธุรกิจนี้ก็คือหาสมดุลให้ตัวเอง “เราจะไม่ทำตัวไม่ดี เราต้องมีเส้นของความดีของเราด้วย ถ้าวันหนึ่งความไม่ถูกใจมันเข้ามากระทบ เราไม่จำเป็นที่เราจะทำตัวไม่ดีเพื่อตอบสนองความไม่ถูกใจนั้น เพราะถ้าเราข้ามเส้นความดีของเราไป เราจะกลายเป็นคนที่เราไม่ชอบ ดังนั้นต้องใจเย็นๆ ทุกอย่างในชีวิตขึ้นอยู่กับความคิดแค่เปลี่ยนมุมมองชีวิตเราก็ไปต่อได้” คุณยูน ทิ้งท้าย

.

.

ข้อมูลและภาพ จาก sanook

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ