เปิดชีวิต "คนไทยบ้านๆ" ไปอยู่ที่ญี่ปุ่น ขายของข้าวราดแกง-ผลไม้ แค่ 2 วัน ฟันกำไรหลักล้านบาท!

LIEKR:

ไม่ต้องร่ำรวย แต่รู้ช่องทำกิน แค่ 2 วันฟันหลักล้าน 💸💸อีกทั้งอาหารไทยขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย ไม่ว่าจะทำขายที่ไหนก็มีแต่คนกิน 💪💪

        "เทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว" ครั้งที่ 20 ณ สวนสาธารณะโยโยกิ กรุงโตเกียว...ฟังดูแล้วอาจเป็นงานออกร้านสินค้าไทยๆ แสนธรรมดาที่ถูกจัดขึ้นใจกลางประเทศญี่ปุ่น แต่ทีมข่าวอยากจะบอกว่า นี่ไม่ใช่งานบ้านๆ ไก่กา แต่เราขอเรียกว่า “ปรากฏการณ์นิยมไทย”

        ทว่า ท่ามกลางแสงแดดอ่อนๆ ลมพัดเย็นสบายกลางกรุงโตเกียว คนญี่ปุ่นมากกว่า 3 แสนคน หลั่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ เพื่อมาชม ชิม ช็อป สินค้าไทยอาหารไทยอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น มะม่วง ทุเรียน ผัดกะเพรา ผัดไทย ผ้าขาวม้า หรือแม้แต่รถตุ๊กๆ ก็ได้รับความสนใจจากคนญี่ปุ่นอย่างล้นหลาม เรียกได้ว่าทั่วทั้งพื้นที่สวนสาธารณะโยโยกิอันยิ่งใหญ่ คับแคบไปถนัดตา

 

Sponsored Ad

 

        ขนาดที่ว่า นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ก็ยังบอกกับทีมข่าวว่า “ในสวนแห่งนี้ มีงานเทศกาลต่างๆ จัดขึ้นมากมาย แต่ยังไม่ปรากฏว่า จะมีงานใดที่มีผู้คนหลั่งไหลมามากมายเท่าเทศกาลไทย”

        นอกจากนี้ ทีมข่าว มีโอกาสได้พูดคุยกับคนไทยที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปเปิดบูธขายสินค้าที่งานดังกล่าว ซึ่งเรื่องราวที่เราได้คุยกันนั้น รับรองว่า คุณต้องร้องว้าว!

 

Sponsored Ad

 

        สาวไทยวัย 26 เปิดบูธอาหารไทย คนญี่ปุ่นแห่กินแน่น ฟันรายได้ 2 แสน/2 วัน

        น.ส.ณัฐนิดา อรรถเมธี หรือ พะพาย เจ้าของบูธอาหารไทย วัย 26 ปี เปิดใจกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ว่า เธอเป็นคนฉะเชิงเทรา หลังจากเรียนจบปริญญาตรี เธอตัดสินใจเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาร่ำเรียนโรงเรียนภาษาที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งระหว่างนั้น เธอได้หารายได้พิเศษด้วยการทำงานในร้านอาหารไทย เพราะด้วยความที่เธอมาจากครอบครัวฐานะปานกลาง พ่อแม่ไม่ได้มีเงินทองเหลือใช้ เธอจึงต้องประหยัดอดออมให้ได้มากที่สุด

 

Sponsored Ad

 

        “ปีแรกทางบ้านจะส่งเงินมาให้เพื่อใช้เป็นค่าเทอมและค่ากินอยู่ โดยปีแรกเราต้องใช้เงินหลายแสนบาท แบ่งเป็นจ่ายค่าเทอม เทอมละ 3 แสนเยน (ประมาณ 1 แสนบาท) หนึ่งปีมีสองเทอมเท่ากับ 2 แสนบาท โดยพ่อแม่ส่งเสียให้เราทั้งสองเทอม ส่วนค่าใช้จ่ายหลักๆ ก็จะเป็น ค่าหอที่ตกเดือนละ 15,000 บาท (รวมน้ำไฟแล้ว)”

พะพาย เจ้าของบูธอาหารไทย วัย 26 ปี

 

Sponsored Ad

 

        “จากนั้น ปีที่สอง เราเอาเงินที่ทำงานในร้านอาหารไทยจากปีแรกทั้งหมดมาส่งเสียตัวเองเรียน เราเหนื่อย เหนื่อยมากๆ ได้เงินค่าจ้างคิดเป็นเงินไทย ตกชั่วโมงละ 280 บาท คิดเป็นเงินเดือน จะอยู่ที่เกือบ 60,000 บาท ถามว่า เดือนละ 60,000 บาทอยู่ได้ไหม คำตอบคืออยู่ได้ แต่ต้องประหยัดมากๆ เพราะต้องเอาเงินไปจ่ายค่าหอ และค่าเทอมด้วย” พะพาย เจ้าของบูธอาหารไทย บอกเล่าจากประสบการณ์ตรง

        เธอเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการทำงานในร้านอาหารไทยนานถึง 4 ปี จนกระทั่ง ตัดสินใจเปิดบูธอาหารด้วยตนเอง โดยร้านของเธอ เลือกที่จะขายอาหารเป็นเซตจับคู่ เช่น ผัดไทย+ผัดกะเพราไก่, ไก่คาระเกะราดซอสกระเทียม+ไก่ผัดผงกะหรี่ เป็นต้น

 

Sponsored Ad

 

        ส่วนกระบวนการต่างๆ ภายในร้านของเธอนั้น เธอจ้างนักเรียนไทยในญี่ปุ่นที่รับงานพาร์ตไทม์ 4 คน และจ้างพ่อครัว 2 คน เป็นกระบวนการง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แต่กำไรเห็นผลเป็นกอบเป็นกำ

        พะพาย เปิดเผยกับทีมข่าวถึงรายได้จากการเปิดบูธขายอาหารว่า “บูธขายอาหารในงานเทศกาลไทย ณ กรุงโตเกียว เราจะมีกำไรอยู่ที่วันละไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นบาท หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว เพราะปีนี้แดดดี และคนเยอะมาก รวมสองวันอาจใกล้เคียง 2 แสนหรือมากกว่านั้น”

 

Sponsored Ad

 

        สาวไทยจากเพชรบูรณ์ ขายอาหาร ผลไม้ไทย แค่ 2 วัน ฟันรายได้เกือบ 2 ล้าน

        นางณัฐธิณี อิชิยาม่า วัย 54 ปี ชาวเพชรบูรณ์ เจ้าของบูธอาหารไทย เปิดใจหมดเปลือกกับทีมข่าวว่า แรกเริ่มเดิมทีเธอเป็นสาวไทยที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ในเมืองไทย แต่ด้วยพรหมลิขิตบันดาลชักพา ทำให้เธอได้พบกับชายชาวญี่ปุ่นที่มาทำงานในเมืองไทย เธอและเขาตกหลุมรัก จนตัดสินใจแต่งงาน และสุดท้ายเธอก็ย้ายมาอยู่ที่ชิบะ เคน เมืองเล็กๆ แต่อบอุ่นในประเทศญี่ปุ่น

Sponsored Ad

        “พอมาอยู่ที่ญี่ปุ่น เราก็เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวไทยเล็กๆ ในบ้านของเรา มีลูกชิ้นเอ็นหมูเอ็นเนื้อทำเอง ลูกค้าไม่ได้เยอะมากมาย แต่เราทำด้วยความรู้สึกที่ว่า อยากให้คนญี่ปุ่นได้ล้ิมรสชาติก๋วยเตี๋ยวไทย”

        “ประกอบกับสมัยนั้น (30 ปีก่อน) อาหารไทยหากินยากมาก และด้วยความที่เราเป็นลูกแม่ค้าขายอาหารอยู่แล้ว จึงพอมีฝีไม้ลายมือในการทำอาหารอยู่บ้าง และแล้วจึงเกิดเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวไทยขึ้นมา” สาวเพชรบูรณ์ วัย 54 ปี บอกเล่าด้วยรอยยิ้ม

ณัฐธิณี อิชิยาม่า วัย 54 ปี ชาวเพชรบูรณ์ เจ้าของบูธอาหารไทยและผลไม้ไทย

        เมื่อมองไปรอบๆ บูธขายผลไม้ภายในร้านของเธอนั้น จะพบว่า ห้อมล้อมไปด้วยผลไม้นำเข้าจากไทยทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น มะม่วงมัน, ทุเรียน, มะม่วงน้ำดอกไม้สด ซึ่งเธอให้เหตุผลว่า เธอต้องนำเข้าผลไม้จากไทยทั้งหมด เพราะหวานหอมกว่าผลไม้ไทยที่ปลูกในประเทศญี่ปุ่น

        “ส่วนผลไม้ที่ขายดีสุด คือ มะม่วงสด โดยเฉพาะน้ำมะม่วงปั่น ซึ่งเราใช้มะม่วง 100% ทั้งแก้ว โดยราคาต่อหนึ่งแก้ว จะตกอยู่ที่ 500 เยน (ประมาณ 145 บาท) รองลงมาก็จะเป็นน้ำอ้อยคั้นสด ซึ่งมีราคาเท่ากันกับมะม่วงปั่น” สาวเพชรบูรณ์ บอกเล่า

        “เราเปิดร้านขายผลไม้ลักษณะนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งไม่คาดคิดเลยว่า เสียงตอบรับจะดีขนาดนี้ และไม่อยากจะเชื่อว่าคนญี่ปุ่นจะชอบมะม่วงไทยมากมายขนาดนี้” เธอกล่าวด้วยความประหลาดใจ

        แม้ว่าเธอจะเปิดบูธขายผลไม้แปรรูปเป็นครั้งแรก แต่เธอมีประสบการณ์เปิดบูธขายอาหารไทยมาอย่างยาวนานถึง 15 ปี ซึ่งร้านอาหารไทยของเธอขายอาหารไทยเมนูต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ผัดไทย ไก่ย่าง ส้มตำ และถือว่า ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีเช่นกัน

        สาวเพชรบูรณ์ บอกเล่าให้ทีมข่าวฟังถึงรายได้ที่เธอได้รับว่า “ค่าเช่าที่ในงานเทศกาลไทย จะอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านเยน (ประมาณ 288,000 บาท) เราเคยทำกำไรจากการขายอาหารในงานเทศกาลไทย ได้มากสุด คือ 7 ล้านเยนต่อสองวัน (ประมาณ 576,000 บาท) แต่คิดว่า ปีนี้คงจะไม่ได้เช่นนั้น เพราะชาวญี่ปุ่นกินเที่ยวหลังจากหยุดยาวมานานถึง 10 วัน กำลังการซื้ออาจจะถูกใช้ไปแล้วตั้งแต่ช่วงนั้น”

        “เราคาดว่า ปีนี้ 2 บูธของเรารวมกัน จะสามารถทำรายได้ประมาณ 3 ล้านเยนต่อหนึ่งวัน (ประมาณ 865,000 บาท) แต่ถ้ารวมสองวัน จะอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านเยน (ประมาณ 1.73 ล้านบาท)"

        “งานเทศกาลไทย เป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในสวนสาธารณะโยโยกิ เราสามารถคุยอวดใครๆ ได้เลย งานใดๆ ก็ตามที่มาจัด ก็ไม่ได้มีคนมากและยิ่งใหญ่เท่าเทศกาลไทย เพราะอาหารไทยเป็นที่นิยมของคนญี่ปุ่นมาก พูดได้เลยว่า ณ เวลานี้ เดินไปทางไหนในญี่ปุ่น ใครๆ ก็ต้องรู้จักผัดกะเพรา” สาวเพชรบูรณ์ กล่าวอย่างภาคภูมิ

ข้อมูลและภาพ จาก thairath

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ