บทเรียนที่ Jeff Bezos กำลังสอนเราอยู่ แม้จะ "รวยที่สุดในโลก" แต่วันนึงผมก็อาจจะ "ล้ม" ได้

LIEKR:

ความจริงคือ ผมก็คิดไว้ว่าสักวันอาจจะล้มเหลว จนถึงขั้นล้มละลายได้เช่นกัน

    กว่าที่ Amazon จะก้าวขึ้นมาเป็นอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ระดับโลกในทุกวันนี้ ล้วนแต่พบกับความผิดพลาดมาก่อน 

    ย้อนไปเมื่อ 9 ปีที่แล้ว Jeff Bezos ซีอีโอของ Amazon เคยมุ่งมั่นที่จะทำโครงการใหญ่ นั่นคือการผลิต Fire Phone ซึ่งก็คือสมาร์ทโฟนของ Amazon นั่นเอง

    หากนับตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปี 2014 เป็นช่วงเวลา 4 ปีเต็มที่ Amazon ทุ่มเทกับสิ่งนี้ ลงทั้งเงิน ลงทั้งคน และในท้ายที่สุด ปรากฏว่าโครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นท่า

 

Sponsored Ad

 

    แต่ทว่าในปีล่าสุดนั้น รายได้ของ Amazon อยู่ที่ประมาณ 5.7 ล้านล้านบาท เยอะแค่ไหน?? เทียบกับประเทศไทยเราน่าจะเห็นภาพมากขึ้น รายได้ของบริษัทนี้แห่งเดียว เท่ากับ 1 ใน 3 ของจีดีพีประเทศไทย

    แถมรายได้ของบริษัท ก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี ราคาหุ้นก็พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แม้ช่วงหลังจะปรับลงไปบ้าง แต่หากเทียบกับตอนต้นปีแล้ว ยังบวกมาถึง 33% ส่งผลให้มูลค่าบริษัทเป็นเพียงอันดับสองรองจาก Apple และทำให้เขาคว้าตำแหน่งบุคคลที่รวยที่สุดในโลกได้สำเร็จ

 

Sponsored Ad

 

    นับเป็นเรื่องน่ายินดีใช่ไหมครับ??ปกติคนที่อยู่ในความสำเร็จระดับนี้ มักจะมีความสุขและดื่มด่ำไปกับมัน ให้สมกับความเหนื่อยยากตั้งแต่การตั้งบริษัทในปี 1994 หรือราว 24 ปีก่อน

    แต่กลับตรงกันข้าม…คำพูดของ Jeff Bezos จากการประชุมของบริษัทในรอบล่าสุดแสดงให้เราเห็นว่า เขายังคงกังวลถึงอนาคตของบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่แห่งนี้ และพยายามปรับตัวเพื่อให้นำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ

    จำเรื่องของห้าง Sears ได้ไหมครับ?? ห้างใหญ่ในอเมริกา ซึ่งแม้จะเปิดมากว่า 120 ปี ก็หลีกหนีการเปลี่ยนแปลงไม่พ้น และกำลังจะล้มละลาย

 

Sponsored Ad

 

    มีคนถาม Jeff เกี่ยวกับบทเรียนที่เขาได้รับจากกรณีของ Sears ในฐานะที่เป็นบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่คล้ายๆ กันแตกต่างกันที่เป็นโลก Offline กับ Online

    Jeff บอกว่า “Amazon ไม่ได้ใหญ่จนถึงขั้นที่ล้มลงไม่ได้”

 

Sponsored Ad

 

    “ความจริงคือ ผมก็คิดไว้ว่าสักวันอาจจะล้มเหลว จนถึงขั้นล้มละลายได้เช่นกัน

    ความรุ่งเรืองของบริษัทใหญ่ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 30 กว่าปีเท่านั้น ไม่ใช่อยู่ยาวนับ 100 ปี โดยเฉพาะถ้าเรามัวแต่โฟกัสไปที่ตัวเอง ไม่ยอมคิดถึงลูกค้า นั่นก็คือจุดเริ่มต้นของความล้มเหลว ซึ่งสิ่งที่บริษัทกำลังทำ ก็คือพยายามชะลอให้วันแห่งความล้มเหลวนั้น มาถึงช้าที่สุดเท่าที่เป็นไปได้”

     ถึงแม้ว่าปัจจุบัน Amazon จะครองส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซในอเมริกาสูงถึง 49% เป็นตัวเลขที่ขยับขึ้นมาจาก 43% ในปีก่อน และคาดว่าในปีหน้าจะทำได้เกิน 50% แน่ๆ แต่สุดท้ายแล้วในโลกธุรกิจ ทุกสิ่งก็ต้องพัฒนาไปข้างหน้า

 

Sponsored Ad

 

    ถ้าวันนี้เขาพอใจกับยอด 50% แล้วหยุดนิ่ง ทำธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ หรือไปบีบรีดเอากำไรจากลูกค้ามากขึ้น เช่น เพิ่มเงื่อนไขการคืนของ เพิ่มราคาค่าส่งมากกว่าเดิม เพราะคิดว่าอย่างไรเสียลูกค้าก็คงติดการซื้อของจาก Amazon ซะแล้ว

    นั่นอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ลูกค้าเบือนหน้าหนี ไปเลือกใช้งานอีคอมเมิร์ซเจ้าอื่นๆ ก็เป็นได้


    ตัวเลขส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกา

 

Sponsored Ad

 

    เปรียบเทียบสนามอีคอมเมิร์ซ กับสังเวียนของปลา…โลกออนไลน์มีส่วนช่วยให้ปลาเล็กที่เอาตัวรอดเก่ง มีโอกาสลืมตาอ้าปากมากยิ่งขึ้น

    กลายเป็นเรื่องของปลาใหญ่ต้องไม่ว่ายอืดๆ ต้องปรับตัวให้เร็วเพื่อความอยู่รอด ยุคนี้ปลาใหญ่กินปลาเล็กเหมือนเดิมยาก ถ้าปลาเล็กนั้นว่ายได้เร็วและฉลาดพอ

แถมสักวัน ปลาเล็กตัวนั้นก็มีโอกาสจะพัฒนามาเป็นปลาที่ใหญ่ขึ้น พอฟัดพอเหวี่ยงกับปลาใหญ่เจ้าแห่งน่านน้ำเดิมได้เหมือนกัน

    อ๊ะ.. นี่ยังไม่รวมปลาต่างชาติอย่าง “ปลาจีน” ทั้งกองทัพ Alibaba และ Tencent ที่พร้อมจะสู้รบกับปลาอเมริกันได้ตลอดเวลา

Sponsored Ad

    แถมช่วงหลังยังเติบโตได้อย่างน่ากลัว เพราะมีแรงหนุนจากรัฐบาลจีนอย่างเต็มที่ ขณะที่ทางฝั่งอเมริกันนั้น ทั้ง Jeff และ Trump ยังสู้รบปรบมือปะทะคารมกันเป็นระยะๆ ขืนยังย่ำอยู่กับที่ สักวันอาจจะสูญเสียความเป็นเจ้าตลาดอีคอมเมิร์ซไปก็ไม่แน่

ปลาจีนเนี่ย ประมาทไม่ได้!!

บทเรียนที่ Jeff Bezos กำลังสอนเราอยู่…

    เขาอาจจะมองว่ากรณีของห้างใหญ่อายุ 120 ปี ที่กำลังจะล้มละลายนั้น เป็นเพราะการไม่ยอมปรับตัวกับกระแสออนไลน์ รวมถึงไม่ได้นำเสนอสิ่งใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะเกิดขึ้นกับ Amazon ได้เช่นกัน

    บริษัทของเขาเริ่มต้นในยุคก่อตัวของอินเตอร์เน็ต ซึ่งมองย้อนกลับไปในยุคนั้น หลายคนก็ไม่คาดคิดว่าอินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทสำคัญกับโลกได้มากขนาดนี้

    แต่เมื่อเวลาผ่านมากว่า 20 ปี กลายเป็นว่าคนยุคนี้จะทำอะไร ก็เข้าหาโลกออนไลน์เป็นอย่างแรก โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้รับความนิยม ก็ส่งผลให้บริษัทด้านอีคอมเมิร์ซเติบโตตามไปด้วย

    แต่ในอนาคตล่ะ?? ถ้ามีคู่แข่งเข้ามานำเสนอบริการที่ดีกว่า วันนั้นจะยังมีคนใช้บริการของคุณอยู่ไหม??หรือถ้าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เขาไม่ชอบซื้อของแบบให้คนมาส่งถึงบ้านแล้ว??

    ลองจินตนาการให้หลุดโลกไปเลยว่า ในอนาคตอาจจะมียุคที่คนสั่งการซื้อขายออนไลน์ผ่านความคิด เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต แล้วสินค้าอย่างโต๊ะ เก้าอี้ ถูกส่งมาทางเครื่องแยกมวลสาร ก่อนมาประกอบเป็นของใช้งานที่บ้านลูกค้าภายในไม่กี่วินาที

    ถ้าอีกไม่กี่สิบปี โลกเราไปถึงจุดนั้นได้.. แล้ว Jeff หรือ Amazon จะยังตามทันไหม??

     เริ่มจาก รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ รู้แล้วก็ต้องปรับตัวให้ทัน เพราะ “หยุดนิ่ง” เท่ากับ “ถอยหลัง” และอย่าลืมใส่ใจลูกค้า บุคคลสำคัญที่สุดต่อธุรกิจ

    นี่คือบทเรียนที่ผมได้จากการประชุมของเศรษฐีระดับโลกในครั้งนี้ครับ…

    แล้วคุณเองล่ะครับ ได้รับแง่คิดอะไรจาก Jeff หรือบทความนี้บ้างรึเปล่า??

ข้อมูลและภาพจาก billionmindset

บทความที่คุณอาจสนใจ