รู้จักโครงการ "คลอดลูกในอเมริกา" คลอดปุ๊บ ลูกได้สัญชาติอเมริกันปั๊บ แต่อาจเจอ "ภาษี 2 เด้ง"

LIEKR:

รู้จักโครงการ "คลอดลูกในอเมริกา" คลอดปุ๊บ ลูกได้สัญชาติอเมริกันปั๊บ แต่อาจเจอ "ภาษี 2 เด้ง"

    รู้จักกับโครงการ พาลูกไปคลอดที่ไมอามี สหรัฐอเมริกา เตรียมพร้อมทุกอย่างตั้งแต่การเตรียมเอกสาร ทนายความ คาดค่าใช้จ่ายอาจจะสูงถึงหลักล้าน

    จากกรณีที่เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ได้เกิดดราม่าขนานใหญ่ เมื่อหมอแอร์ พ.ต.ท. พญ.อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล แพทย์ประจำกลุ่มจิตเวชและยาเสพติด อดีตรองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความเชิญชวนให้ไปคลอดที่สหรัฐอเมริกา หลังจากที่หมอแอร์เพิ่งไปคลอดที่ไมอามี อันเป็นผลทำให้ลูกชาย น้องอเล็กซ์ ได้รับสัญชาติอเมริกันโดยสมบูรณ์แบบ (อ่านเพิ่มเติม ดราม่า ! หมอแอร์ ชวนคนไทยไปคลอดอเมริกา ให้ได้สัญชาติ ทั้งที่เป็นคนไทย)

 

Sponsored Ad

 


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

    ทั้งนี้ โครงการที่หมอแอร์ อัญชุลี เข้าร่วมนั้นชื่อว่า Have my baby in Miami ซึ่งเป็นโครงการที่อำนวยความสะดวกให้คนจากทั่วโลก สามารถมาคลอดที่สหรัฐอเมริกาได้ และเด็กที่เกิดบนแผ่นดินอเมริกา ไม่ว่าพ่อแม่จะเป็นคนสัญชาติใดก็ตาม จะได้รับสัญชาติอเมริกันโดยอัตโนมัติ


 

Sponsored Ad

 

ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

    ทั้งนี้ ทางโครงการจะให้บริการแบบครบวงจร เช่น การให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ การยื่นขอเอกสาร (คาดว่าเป็นสูติบัตร) ภายหลังจากที่เด็กเกิด การซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการคลอดบุตร และบ้านที่จะใช้เป็นที่พักฟื้นของแม่และเด็ก
    ในส่วนของการคลอดนั้น คุณแม่สามารถคลอดได้ทั้งแบบธรรมชาติ ผ่าคลอด หรือการคลอดที่มีความซับซ้อน ซึ่งคุณแม่สามารถปรึกษากับแพทย์ได้ว่าต้องการที่จะคลอดแบบใด โดยคุณแม่สามารถเดินทางมาที่อเมริกาได้ก่อนที่อายุครรภ์จะครบ 32 สัปดาห์

 

Sponsored Ad

 


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

    ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้น ในเบื้องต้นเฉพาะค่ากุมารแพทย์และสูตินรีแพทย์ ประมาณ 170,000 บาท ไม่รวมค่าโรงพยาบาลที่จะต้องจ่ายให้โรงพยาบาลโดยตรง รวมถึงค่าพยาธิวิทยา ค่าวางยาสลบ ค่าผ่าตัด และอื่น ๆ และไม่รวมค่าให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ค่าบ้าน ค่าตั๋วเครื่องบิน ซึ่งคาดว่าเมื่อรวมค่าใช้จ่ายแล้ว อาจสูงถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว

    อย่างไรก็ตาม ในอินสตาแกรมของทางโครงการนั้น ได้มีการเผยภาพของพ่อแม่และเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ โดยพบว่ามีคนจากหลายสัญชาติที่ได้เข้ามา ทั้งไทย บราซิล และชาติอื่น ๆ 
    ด้านหมอแอร์ ก็ได้ออกมาโปรโมตโครงการนี้ด้วยตัวเอง ก่อนที่จะลบโพสต์ไป ถึงกระนั้น เธอก็ยืนยันว่า โครงการนี้ถูกกฎหมาย และลูกชายของเธอ น้องอเล็กซ์ ก็ได้ถือสัญชาติอเมริกัน ควบคู่กับสัญชาติไทยแล้ว

 

Sponsored Ad

 


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

    ด้านเว็บไซต์ sanook ก็ได้เปิดเผยข้อมูลว่ามีหลายเสียงต่างมองว่าเป็นการเบียดเบียนสิทธิและภาษีพลเมืองของรัฐฯนั้นๆ แต่รู้หรือไม่ว่าลูกของหมอแอร์ที่เกิดและได้สัญชาติอเมริกันเมื่อโตไปทำงานจะต้องเสียภาษีเทียบเท่าพลเมืองของประเทศนั้นด้วย Sanook! Money ได้สอบถามกับอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติท่านหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องการเสียภาษีของคนไทยที่ได้สัญชาติอเมริกัน โดยทราบว่าการเสียภาษีนั้นต้องเป็นไปตามข้อตกลง FATCA 

    โดย FATCA (ย่อมาจาก Foreign Account Tax Compliance Act) เป็นกฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันมิให้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีสถานะเป็นบุคคลอเมริกา (US Person) หลีกเลี่ยงภาษีโดยวิธีการเปิดบัญชีหรือลงทุนกับสถาบันการเงินนอกสหรัฐอเมริกา จึงกำหนดให้สถาบันการเงินที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาทั่วโลกรายงานข้อมูลบัญชีและธุรกรรมทางการเงิน (US Account) ของลูกค้าที่มีสถานะเป็นบุคคลอเมริกัน ไปยังหน่วยงานสรรพากรของสหรัฐฯ (Internal Revenue Service : IRS)

 

Sponsored Ad

 


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

ทำไมสถาบันการเงินถึงยอมทำให้สหรัฐอเมริกา?

    เหตุผลที่สถานบันการเงินในประเทศไทยยอมผูกพันตนตามกฎหมาย FATCA เนื่องจากสถาบันการเงินในประเทศไทยมีการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินทั่วโลกเป็นจำนวนมาก การค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่ก็ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องให้ความร่วมมือกับ IRS เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกดำเนินมาตรการ

 

Sponsored Ad

 

    หักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งให้ IRS ในอัตรา 30% ของรายได้ที่เกิดจากการทำธุรกรรมในสหรัฐอเมริกา เช่น การฝากเงิน การลงทุน หรือการปล่อยสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่เกิดจากเงินของสถาบันการเงินหรือของลูกค้า โดยคิดจากทั้งเงินต้นและผลตอบแทน (จากเดิมไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย)


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

Sponsored Ad

ปฏิเสธการทำธุรกรรมทางการเงินจากสถาบันการเงินอื่นทั่วโลกที่ให้ความร่วมมือ

    ซึ่งมาตรการทั้ง 2 ข้ออาจส่งผลกระทบกับการทำธุรกรรมของลูกค้า เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจและเพิ่มต้นทุนของภาคระบบการเงินไทย

    ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าโดยรวม สถาบันการเงินในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องดำเนินการเก็บข้อมูลของลูกค้าปัจจุบันและลูกค้ารายใหม่ โดยการขอความร่วมมือลูกค้าในการตอบแบบฟอร์ม FATCA เพื่อยืนยันสถานะว่าเป็นบุคคลอเมริกันหรือไม่


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

    สำหรับการเสียภาษีอากรตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา โดยจะถามถึงข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นบุคคลอเมริกัน เช่น ความเป็นพลเมือง สัญชาติ การถือกรีนการ์ด สถานที่เกิด ที่อยู่ (ถาวร/ ปัจจุบัน /ติดต่อได้) หมายเลขโทรศัพท์ การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นที่มีอยู่ในสหรัฐอเมริกาดำเนินการเกี่ยวกับบัญชี การทำคำสั่งรายการโอนเงินเป็นประจำ ฯลฯ (หากเป็นบุคคลที่เป็นหรือมีข้อบ่งชี้ว่าเป็นบุคคลอเมริกัน ก็ต้องกรอกแบบฟอร์มอื่นเพิ่มเติมด้วย)

    นอกจากนี้ ลูกค้าต้องลงนามให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลและหักเงินจากบัญชี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่ต้องพิสูจน์เพิ่มเติมว่าเป็นบุคคลอเมริกันหรือไม่ และหากเป็นบุคคลอเมริกัน หรือหากไม่ยินยอมเปิดเผยข้อมูลก็อาจจะต้องถูกหักเงินเพื่อเสียภาษีตามกฎหมาย FATCA

    สรุป ลูกของหมอแอร์ที่ได้รับสัญชาติอเมริกันมีสิทธิอยู่-ทำงานในสหรัฐฯได้ จะต้องยื่นแบบแสดงรายงานการเสียภาษีทุกปีให้กับรัฐบาลของประเทศสหรัฐฯ หรือประเทศที่ไปอยู่เป็นเรื่องปกติ แต่เมื่อเดินทางกลับมาที่ประเทศไทย อดีต สนช. ท่านนี้ระบุว่า จะต้องยื่นหลักฐานดังกล่าวว่าได้แจ้งการเสียภาษีเงินได้แล้วจะไม่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์


ภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอแอร์

ข้อมูลและภาพจาก kapooksanook

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ