เผย "ติดตั้งโซล่าเซลล์" ระบบออนกริด ไม่ต้องใช้ แบตเตอรี่ ประหยัดเงินได้อีกเยอะ

LIEKR:

เผย "ติดตั้งโซล่าเซลล์" ระบบออนกริด ไม่ต้องใช้ แบตเตอรี่ ประหยัดเงินได้อีกเยอะ

    การติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด (On Grid) เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า คือระบบเชื่อมต่อ กับสายไฟ ภายในบ้าน 220 V ที่เราใช้กัน จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ การไฟฟ้านครหลวง 

    ข้อดีของระบบนี้คือ ไม่ต้องใช้ แบตเตอรี่ ให้เปลีองเงิน 2-5 ปี เปลี่ยนที ไม่คุ้ม ทำให้เรา ลดค่าไฟ ที่ใช้ในบ้าน เวลาแดดจัดๆ และไม่ทำ ให้มิเตอร์ไฟฟ้า หมุนกลับ เพราะเราขออนุญาต จากการไฟฟ้า จะมาเปลี่ยนมิเตอร์ เป็นแบบล็อค การหมุนกลับ หรือแบบดิจิตอล ให้เราแทน ( คนที่แอบติด โดยไม่แจ้ง การไฟฟ้า แล้วมิเตอร์ หมุนย้อนกลับ วันดีคืนดีจะโดน ย้อนหลังได้นะครับ ระวังกันไว้ )

 

Sponsored Ad

 

    จุดเด่นของ ระบบออนกริด บ้านที่ติดตั้ง ระบบออนกริด จะมีแหล่งจ่ายไฟ 2 ทาง ทางหนึ่งจากการไฟฟ้า และอีกทางหนึ่ง จากโซลาร์เซลล์ ระบบไฟ ที่ผลิตได้ จากโซลาร์เซลล์ จะแปลงไฟโดยอินเวอร์เตอร์ และสามารถ ต่อไฟร่วมกับ ระบบไฟ จากการไฟฟ้าได้  ไม่ต้องทำระบบสลับไฟ ใดๆทั้งสิ้น สามารถใช้กับ อุปกรณ์ไฟฟ้า ทุกชนิด โดยไม่ใช้แบตเตอรี่

    ตัวอย่างการใช้ไฟฟ้า ระบบนี้ เช่น คุณแม่บ้านจะรีดผ้า เวลากลางวัน เตารีดใช้พลังงานไฟฟ้า  1,500 วัตต์ แต่เราผลิตได้  800 วัตต์ เราก็จ่ายค่าไฟ ให้การไฟฟ้าเพียง 700 วัตต์เท่านั้น  หรือบ้านใครร้อนๆ ตอนกลางวัน เปิดเครื่อง ปรับอากาศ 2,500 วัตต์ เราติดตั้ง ระบบ ออนกริดไว้ 3,000 วัตต์ เป็นไงครับ ใช้เครื่องปรับอากาศ ไม่เสียค่าไฟ ให้การไฟฟ้าเลย

 

Sponsored Ad

 

    ระบบนี้ ไม่ต้องคำนึงว่า Load ในบ้าน ใช้งานมากน้อยเพียงใด ระบบไฟโซลาร์เซลล์ จะช่วยลดค่าไฟ ลงบางส่วนเท่านั้น ตามกำลัง ที่ผลิตได้ หากใช้ไฟมากกว่า ระบบโซลาร์ผลิตได้ จะไปดึงไฟจากการไฟฟ้า นำมาใช้ ระบบนี้ สามารถติดชุดใหญ่ หรือชุดเล็ก ตามงบประมาณ แต่ควร คำนวณขนาดให้เหมาะสม

    อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด จะทำงานเมื่อ มีไฟจากแผง โซลาร์เซลล์ และมีไฟ จากการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้ จากระบบโซลาร์เซลล์ เป็นไฟฟ้า ที่ได้มาใช้ฟรี ตอนเย็นใกล้ค่ำ โวลท์ของแผงโซลาร์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อต่ำถึงเกณฑ์ ที่กำหนด อินเวอร์เตอร์ จะปิดตัวลงอัตโนมัติ รอรุ่งเช้าของวันใหม่ เมื่อมีแสงสว่าง โวลท์ของแผงโซลาร์ จะค่อยๆสูงขึ้น ทำให้อินเวอร์เตอร์ กลับมาทำงานอีกครั้ง

 

Sponsored Ad

 

    จุดด้อย ของระบบออนกริด ระบบไฟ จะไม่สามารถ ใช้งานกลางคืนได้ กลางคืนจะใช้ ไฟจากการไฟฟ้า สำหรับตอนกลางวัน หากไฟจากการไฟฟ้าดับลง อินเวอร์เตอร์ จะหยุดการทำงานไปด้วย ถึงแม้ว่า แผงโซลาร์ ยังสามารถผลิตไฟได้ก็ตาม เพื่อป้องกันไฟ ย้อนไปดูดเจ้าหน้าที่ ที่กำลังซ่อมบำรุง

อุปกรณ์สำหรับ On-grid System ติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด

 

Sponsored Ad

 

    เป็นอุปกรณ์เบื้องต้น สำหรับการติดตั้ง ระบบโซลาร์เซลล์ แบบเชื่อมต่อ สายส่งการไฟฟ้า กริดไท อินเวอร์เตอร์  ต้องเป็นรุ่นที่ได้รับ การรับรองมาตรฐาน จากการไฟฟ้าเท่านั้น  ถึงจะขออนุญาตเชื่อมต่อ สายส่งได้ แผงโซลาร์เซลล์ กล่องเบรคเกอร์ คอนโทรล DC AC Surge Protection อุปกรณ์ยึดแผงโซลาร์เซลล์ บนหลังคา สายไฟโซลาร์เซลล์ PV1-F ข้อต่อสาย MC4

วิธีการ การออกแบบระบบ ติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด

 

Sponsored Ad

 

    1.คำนวณปริมาณ การใช้งาน ในตอนกลางวัน กี่ยูนิต (KWh) เพื่อเลือกขนาด อินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสม

    2.ดูสเปค อินเวอร์เตอร์ input DC จากแผงโซลาร์ สูงสุดกี่ KW เพื่อออก แบบแผงโซลาร์เซลล์ รวม ทั้งดูว่ามีกี่ MPPT เพื่อคำนวณ ว่าต้องแบ่งแผงเป็นกี่ชุด

    3.ดูพิ้นที่ติดตั้ง ว่าเป็นหลังคา แบบใด สามารถติดตั้ง แผงโซลาร์ วางติดกันกี่แผง จำนวนกี่ชุด

    4.ดูจุดติดตั้ง อินเวอร์เตอร์ กล่องเบรคเกอร์ และการเชื่อมต่อ สายไฟฟ้า ตามความ เหมาะสม สวยงาม และปลอดภัย

สรุป ติดตั้งโซล่าเซลล์ ระบบออนกริด

 

Sponsored Ad

 

    1.โซล่าเซลล์ระบบ On Grid, Hybrid ต้องขออนุญาต การไฟฟ้า  ระบบจำหน่าย Off grid ไม่ต้องขออนุญาต

    2.ถ้าไม่ขออนุญาต การไฟฟ้าแล้ว หรือแอบเชื่อมต่อ ทางการไฟฟ้า สามารถดำเนิน การคดีฟ้องร้อง ในภายหลังได้หากพิสูจน์แล้วว่า การติดตั้งดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหา ขึ้นมาในระบบจำหน่าย กระแสไฟฟ้า (ฟ้องร้องเจ้าของอาคาร ,มิเตอร์ หรือผู้อนุญาต ให้ติดตั้ง)

    3.ถ้าติดตั้งระบบ On grid ไปแล้ว สามารถแจ้งการไฟฟ้าได้ ขั้นตอนการ ดำเนินงานคล้ายๆกัน

    4.ถ้าจะขออนุญาต เชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้า ก็ต้องใช้อินเวอร์เตอร์ ที่ผ่านมาตรฐาน การไฟฟ้าเท่านั้นไม่งั้นทางการไฟฟ้า ก็จะไม่อนุญาต ให้เชื่อมต่อระบบดังกล่าว

Sponsored Ad

    5.หากการไฟฟ้าอนุญาต ให้เชื่อมต่อ โครงข่ายไฟฟ้า ถ้ามิเตอร์ที่บ้าน เป็นมิเตอร์แบบ ไม่หมุนกลับ ทั้งแบบดิจิตอล หรืออนาล๊อกก็ไม่ ต้องเปลี่ยนมิเตอร์

    6.กำลังไฟฟ้าที่เหมาะสม ในการติดตั้ง ควรตรวจเช็ค โดยการบันทึกค่ากำลังไฟฟ้า ในแต่ ละช่วงเวลา และนำข้อมูลดังกล่าว มาจัดทำ Load Profile เพื่อหาค่าเฉลี่ย หรือ มัธยฐาน (ข้อมูลกระจายผิดปกติ) ให้เหมาะสม กับการใช้งาน

ข้อมูลและภาพจาก solarcellthailand96.com,pinyadajewelry

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ