"เด็กหญิง 8 ขวบ" ผู้เขียนหนังสือ กราบพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ จนได้รับเชิญมายังทำเนียบรัฐบาล

LIEKR:

สุดซาบซึ้งใจ เมื่อเด็กวัย 8 ขวบเขียนถึง "รัชกาลที่ ๙" รำลึกถึงในหลวง และความรู้สึก ตั้งแต่วันที่ทรงประชวร...

    ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในวันนี้ ทางกระทรวงวัฒนธรรม ได้แจกหนังสือก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี 

    ซึ่ง นายกรัฐมนตรีได้มีการเปิดอ่านหนังสือ ชื่อ “กราบพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” และซาบซึ้งในหนังสือที่ เด็กหญิงติณณา แดนเขตต์ อายุ 8 ปี เป็นคนเขียน และนายกฯได้แจ้งไปยังกระทรวงวัฒนธรรม ว่าหากมีโอกาสอยากให้พาเด็กคนดังกล่าวนี้เข้ามาที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นการให้กำลังใจเด็กที่เขียน โดยหนังสือเล่มดังกล่าวนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

 

Sponsored Ad

 

    สำหรับหนังสือ “กราบพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” ดังกล่าว เป็นฝีมือการเขียนของ เด็กหญิงติณณา แดนเขตต์ หรือ ‘ตินติน’ ผู้ซึ่งได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น พ.ศ. 2560 ของกระทรวงศึกษาธิการจากหนังสือเล่มนี้มาแล้ว

 

Sponsored Ad

 

    และแม้ว่าหลายคนอาจจะเคยสัมผัสผลงานที่ไม่ธรรมดาของน้องตินตินมาแล้ว แต่น้อยครั้งนักที่เราจะได้ยินเสียงจริงจากตัวจริงของนักเขียนเด็ก ที่บอกเล่าถึงความพยายามและความมุ่งมั่นที่ใหญ่กว่าขนาดตัวหลายเท่า ในยุคที่คนอื่นๆ เอาแต่ก้มหน้าก้มตาอยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟน เด็กคนนี้จับปากกาขึ้นมาจดบันทึก และเริ่มต้นเส้นทางนักเขียนตั้งแต่วัยอนุบาล กระทั่งมีผลงานหนังสือเล่มเป็นของตัวเอง ที่สำคัญยังได้รับรางวัลระดับประเทศอีกด้วย

    ‘ตินติน’ จากรูปวาดสู่เรื่องเล่า

 

Sponsored Ad

 

    “หนูชื่อเด็กหญิงติณณา แดนเขตต์ ชื่อเล่นตินติน เรียนโรงเรียนสาธิต มศว.ประสานมิตร ฝ่ายประถม ชั้น ป.5/4 ค่ะ เริ่มเขียนหนังสือตอน 5 ขวบเศษ ส่งจดหมายมาถึงคุณตา (อ.มกุฏ อรฤดี) เพื่อขอสมุดบันทึก พอได้รับรีบวาดรูปเลย 2 รูป คุณแม่ถ่ายรูปส่งมาให้คุณตา คุณตาบอกว่าพามาเจอหน่อย แล้วจ้างให้วาดรูปประกอบหนังสือชื่อหอยทาก แม่อ่านต้นฉบับให้ฟัง ตินวาดรูปไป 100 รูป 5 เดือน แถมรูปวาด 1 รูป รูปทิวทัศน์” 

    เธอว่ารูปวาดของเธอทุกรูปจะมีจุดสองจุดแทนดวงตา “...เป็นตาของก้อนเมฆ เป็นตาของพระอาทิตย์ เป็นตาของหญ้า ทุกสิ่งมีตา เพราะหนูอยากให้ทุกสิ่งมันมีชีวิต คุณตาก็เอาสมุดมาให้แล้วบอกให้เขียนทุกสิ่งในโลกนี้ที่มีชีวิตที่อยากเขียนส่งกลับมาให้คุณตาอ่าน”

 

Sponsored Ad

 

    จากรูปวาดที่มีชีวิตชีวา สู่งานเขียนที่มีความหมาย เมื่ออ.มกุฏ แนะนำให้บันทึกเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ซึ่งขณะนั้นทรงพระประชวร

    “ตินก็เขียน เขียนทุกวัน วันละบท” เธอเล่า ก่อนจะยกตัวอย่างให้ฟังหนึ่งบท “วันที่ 10 ฉันเห็นรูปในหลวงบ่อยๆ ทุกรูปแขวนที่สูงๆ ถ้ารูปในหลวงมีชีวิต ก็เหมือนในหลวงอยู่ทุกที่ของประเทศไทย ในหลวงเป็นเหมือนสมาชิกในครอบครัว เพราะพวกเราจะเอาเฉพาะรูปคนที่เรารักมาไว้ในบ้าน ถ้าบ้านที่ฉันไม่เห็นว่ามีรูปในหลวงอยู่หรือเปล่า ฉันคิดว่าเขาต้องมีรูปในหลวงอยู่ในใจแน่ๆ

 

Sponsored Ad

 

    อีกวันหนึ่งเขียนว่า เก้าอี้ของพระราชา สูญเสียพระราชามา 8 พระองค์แล้ว เราต้องเสียใจยิ่งนัก เพราะวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้เป็นที่รักของแผ่นดินไทย จากไปแล้ว ตอนนี้ฉันไม่เหลือความสุข”

    สำหรับเทคนิคการเขียน ตินตินบอกว่าตามปกติจะพกสมุดทุกครั้ง เวลาที่คิดอะไรได้ก็จะจดไว้ แต่ถ้าวันไหนไม่มีสมุด เธอจะยืมโทรศัพท์แม่มาอัดเสียงแล้วค่อยมาเปิดฟังและจดทีหลังเมื่อสะดวก แต่ตอนนี้มีโทรศัพท์ที่อัดเสียงได้เป็นของตัวเองแล้ว ย้ำว่า “ไม่ใช่สมาร์ทโฟน”

 

Sponsored Ad

 

    เรื่องของการใช้คำ ตินตินใช้วิธีเขียนตามที่คิดไว้แล้วค่อยมาเปลี่ยนคำทีหลัง แล้วจึงอ่านทวน คำไหนผิดก็ตัดทิ้งแล้วเขียนคำที่คิดว่าดีกว่า “คำศัพท์ไม่สำคัญเท่าความหมาย มันลึกซึ้ง ถ้ามีคำสองคำที่มีความหมายเดียวกัน เราจะเลือกคำด้วยการฟังเสียงของมัน แล้วเลือกคำที่ไพเราะกว่า”

    แน่นอนว่าด้วยวัยขนาดนี้ บางครั้งความรับผิดชอบในหมวกของนักเขียนก็สร้างความท้อแท้ได้เหมือนกัน ตินตินยอมรับว่า ความรู้สึกนี้เคยเกิดขึ้นตอนที่ต้องวาดต้นฉบับทุกวัน ซึ่งตัวเองเป็นคนที่ถ้าตั้งใจแล้วจะตั้งใจมาก พอเกิดอะไรที่มันติดขัดก็ไม่อยากจะทำอีก

Sponsored Ad

    “นานๆ ทีจะเป็นแบบนี้ หรือมีแค่ 1 เปอร์เซนต์เท่านั้น วันหนึ่งตินตินโทรศัพท์ไปหาคุณตาบอกว่า หนูจะเลิกเขียนแล้ว เพราะช่วงนั้นตินเขียนได้ดีมากๆ แล้วมีบทหนึ่งเขียนแล้วแย่กว่าเมื่อวาน จึงต้องเขียนใหม่ ซึ่งเป็นตอนที่ต้องส่งต้นฉบับทุกวันพอดี ที่ผ่านมาดีทุกบท เลยคิดไม่ออกว่าบทต่อไปนี้จะทำให้ดีกว่าเมื่อวานได้อย่างไร สุดท้ายคิดไม่ออกเลยไม่อยากเขียนแล้ว”

    แต่ด้วยกำลังใจจากคนรอบข้างและความมุ่งมั่นของตัวเอง ในที่สุดเธอก็ผ่านความรู้สึกนั้นมาได้ และก้าวสู่เส้นทางนักเขียนอย่างเต็มตัว

 

ที่มา : naewna, bangkokbiznews

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ