เปิดที่มา พระมาลาทรงเบเร่ต์ ของเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี เป็นผ้าปักฝีมือชาวไทยภูเขา แรงบันดาลใจจากทูลกระหม่อมย่า

LIEKR:

พระมาลาทรงเบเร่ต์ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ทรงงดงามตามรอยทูลกระหม่อมย่า

    ปีติ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ทรงหมวกเบเรต์ฝีมือชาวไทยภูเขา ทอดพระเนตรโครงการหลวง จ.เชียงใหม่ โดยทางเพจเฟซบุ๊กโครงการหลวง ได้โพสต์รูปภาพพระราชกรณียกิจ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา 

    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมุ่งมั่นตั้งพระทัยในการทอดพระเนตรแปลงรวบรวมและผลิตกุหลาบในโรงเรือน ที่หน่วยวิจัยขุนห้วยแห้ง โดยมูลนิธิโครงการหลวงได้นำพันธุ์กุหลาบตัดดอกจากต่างประเทศมาศึกษาวิจัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2545

 

Sponsored Ad

 

    และเสด็จไปทอดพระเนตรงานวิจัยประมงบนพื้นที่สูง โดยมูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับกรมประมง ทดลองเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราต์ และปลาสเตอร์เจียน จนสามารถผลิตพ่อแม่พันธุ์เป็นผลสำเร็จ ทำให้ลดการนำเข้าปลาจากต่างประเทศ

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากพระองค์จะมุ่งมั่นตั้งพระทัยในการทอดพระเนตรและทรงร่วมกิจกรรมต่างๆ แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมาก คือพระสไตล์อันงดงามและดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

    พระมาลาทรงเบเร่ต์สีม่วงลวดลายอ่อนช้อย ที่แมตช์อย่างลงตัวกับฉลองพระองค์แบรนด์ Chanel รวมถึงพระกระเป๋าเป้สีแดงก็เป็นของแบรนด์ Chanel เช่นกัน ส่วนเครื่องประดับอื่นๆ เช่น ฉลองพระเนตรกันแดด รัดพระองค์ และฉลองพระบาท เป็นของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ซึ่งเป็นแบรนด์ในพระองค์เอง

 

Sponsored Ad

 

โดยที่มาของพระมาลานี้ ทางพจ Queen Sirikit Museum of Textiles ได้เปิดเผยข้อมูลว่า...

    "พระมาลาทรงเบเร่ต์นี้ตัดเย็บจากผ้าปักชาวไทยภูเขา และเป็นผลงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ โดยได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบมาจากพระมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่นิทรรศการ 'ด้วยพลังแห่งรัก' ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"

 

Sponsored Ad

 

    อีกทั้งพระมาลาที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงสวมใส่นี้ ยังสามารถหาซื้อได้ที่ร้านพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ หากใครสนใจและอยากสนับสนุนสินค้าฝีมือคนไทย ก็สามารถสอบถามหรือสั่งซื้อได้เลยที่ โทร. 0-2225-9430 ต่อ 400 และสามารถอินบ็อกซ์ไปที่ https://www.facebook.com/qsmtshop/หรือแอดไลน์ @qsmtshop

.

ที่มา : Queen Sirikit Museum of Textiles, โครงการหลวง, praew

บทความแนะนำ More +